Skip to content
หน้าแรก » รู้จัก พระแม่ ‘มาจู่’ จากเทพเจ้าจีน สู่ ‘แม่ย่านาง’ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในไทย

รู้จัก พระแม่ ‘มาจู่’ จากเทพเจ้าจีน สู่ ‘แม่ย่านาง’ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในไทย

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพาหนะที่คนไทยกราบไหว้กัน สิ่งที่นึกถึงคงไม่พ้น แม่ย่านาง ที่เชื่อว่า ใครที่มียานพาหนะอะไร ไม่ว่าจะเป็นรถ หรือ เรือ ก็ต้องกราบไหว้แม่ย่านางเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อที่ว่าท่านจะช่วยให้เราเดินทางปลอดภัย ไม่ให้อุบัติเหตุทั้งปวงต่างๆ เข้ามาใกล้ แต่ก่อนที่จะเป็นแม่ย่านางนั้น ก็ได้มีความเป็นมาบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าจีนอย่าง ‘มาจู่’ แต่จะเกี่ยวข้องอย่างไรนั้น Ruay 9 จะเฉลยให้ฟังเอง

ผ้าสามสีผูกหัวเรือ

ตำนาน แม่ย่านาง

แม่ย่านาง

หากกล่าวถึงแม่ย่านาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนให้ความเคารพกัน ก็ต้องนึกถึง แม่ย่านางรถ หรือ แม่ย่านางเรือ คนไทยเชื่อว่า ท่านจะอยู่ประจำพาหนะต่างๆ ที่ใช้เดินทางได้ ไม่ว่าจะเป็น รถ เรือ เครื่องบิน เพื่อเป็นผู้ครองรักษา ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ได้หรือเจ้าของรถ เป็นเหมือนกับประกันชีวิตอีกแบบหนึ่ง

แต่ในอดีตความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านางจะเป็นเรื่อง ‘ขวัญ’ มีการทำขวัญให้กับสัตว์ที่เราใช้เป็นพาหนะ เช่น ม้า วัว ควาย  ช้าง เป็นต้น เพื่อก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ป้องกันภัยอันตราย และเป็นการกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะพาหนะที่ทำมาจากไม้ อย่าง เกวียน และเรือ ก็จะมีการทำขวัญเกวียน และการทำขวัญเรือ

แม่ย่านางนอกจากจะมีความเชื่อแบบไทย ๆ แล้ว ยังมีความเชื่อเรื่องของแม่ย่านางแบบฉบับของจีนที่เกิดขึ้นในไทยด้วย ซึ่งความเชื่อนี้เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เชื่อว่า แม่ย่านาง เป็นความเชื่อที่มาจากเทพเจ้าของประเทศจีน ที่ชื่อว่า ‘มาจู่’ ผสมผสานวัฒนธรรม จนกลายมาเป็น ‘แม่ย่านาง’ แบบไทย ๆ ขึ้น

มาจู่ เป็นเทพเจ้าพื้นบ้านที่ช่วยเหลือคุ้มครองท้องทะเล ซึ่งตำนานของเทพองค์นี้ ก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป แต่เชื่อว่า เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ

พระแม่ ‘มาจู่’ เทพเจ้าจีนแห่งท้องทะเล

พระแม่มาจู่

พระแม่มาจู่ หรือ เจ้าแม่ทับทิม หนึ่งในเทพนารีที่สำคัญของจีน เป็นเทวีแห่งทะเลองค์แรก ท่านเป็นเทพแห่งการเดินเรือและอาชีพประมง ยังอิทธิฤทธิ์ในเรื่องของการสู้รบ จนได้กลายมาเป็นเทพคุ้มครองของคนจีนที่อาศัยอยู่ริมทะเล ในอดีตการออกทะเล ถือเป็นการเดินทางที่อันตรายมาก คนจีนจึงต้องทำการเซ่นไหว้พระแม่มาจู่ ก่อนออกทะเล โดยเฉพาะการเดินทางไกล เดิมที คนจีนจะบูชาเทพเจ้าจีนของฮกเกี้ยนก่อน ต่อมาความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่มาจู่ได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

บูชาพระแม่มาจู่
  • หลินสื้อหนี่ว์ เป็นหญิงสาว

ตระกูลแซ่หลิน อาศัยอยู่ในเกาะเล็กๆ อำเภอผู่เถียน มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)  เหมยโจวหลินสื้อหนี่ว์ จึงหมายถึง หญิงแซ่หลินแห่งเกาะเหมยโจว ชื่อนี้ได้ปรากฎในเอกสารยุคราชวงศ์ซ่ง อย่างจดหมายเหตุถิ่นเซี่ยนซี

  • หลงหนี่ว์

หลิงหนี่ว์ แปลว่า เทพนารีมังกร ผู้มีอิทธิฤทธิ์ เป็นธิดาองค์ที่ 6 ของหลินย่วน นายทหารของแคว้นหมิ่น พบในตำนานพื้นบ้าน เชื่อว่า สามารถนั่งเสื่อ เพื่อข้ามทะเลไปตามเกาะต่าง ๆ ได้ และยังสามารถขึ้นสวรรค์ที่เกาะเหมยโจวได้ด้วย มักแต่งตัวด้วยชุดสีแดง เหาะอยู่เหนือทะเล คอยช่วยผู้ที่มากราบไหว้

  • หลินม่อ

ปรากฏในตำนานเก่าแก่สมัยก่อนราชวงศ์หมิง โดยได้เล่าว่า ตั้งแต่เกิดมา ท่านก็ไม่ร้องเลย แม้จะครบหนึ่งเดือนแล้วก็ตาม จึงตั้งชื่อว่า ‘ม่อ’ ที่แปลว่า นิ่งเงียบ

ขบวนแห่พระแม่มาจู่
  • หลินฟูเหญิน

หลินฟูเหญิน มีฉายาว่า ‘เทียนเฟย’ หรือ ชายาแห่งเมืองสวรรค์ เป็นชื่อที่ได้รับการสถาปนาจากฮ่องเต้ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือนักบวช ก็ถือว่า มีฐานะต่ำกว่าฮ่องเต้ทั้งนั้น หากอยากมีฐานะที่สูงขึ้น ต้องเป็นคนที่ฮ่องเต้สถาปนาขึ้น

  • มาจู่

เป็นชื่อได้มีการแพร่หลายมากที่สุด มาจากภาษาฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นที่อยู่ของท่าน โดยคำว่า มา หมายถึง ย่า หรือ ยาย ส่วนคำว่า จู่ หมายถึง บรรพชน เมื่อนำมารวมกัน ก็เป็น หญิงสูงอายุที่มีคุณธรรมสูง เป็นการเรียกชื่อด้วยความเคารพรักดั่งบรรพชน

ความเชื่อ มาจู่ แม่ย่านางกับคนไทย

กราบหัวเรือ

ความเชื่อนี้ ได้เข้ามาในสมัยที่กองทัพเรือนามว่า ‘เจิ้งเหอ’ เข้ามาสำรวจหาสมบัติทางด้านตะวันตกของประเทศจีน ในตอนนั้น ได้มีลมพายุและคลื่นทะเลขนาดใหญ่เข้ามา จึงได้ทำการเซ่นไหว้พระแม่มาจู่ให้คุ้มครอง ปรากฏเป็นร่างของเทวีแห่งท้องสมุทร ที่ออกมาตามคำอธิษฐาน หลังจากนั้น คลื่นทะเลก็สงบลงทันที

เมื่อเจิ้งเหอเดินทางผ่านอยุธยา ก็ได้จัดพิธีบูชาพระแม่มาจู่อีกครั้ง จึงทำให้ความเชื่อนี้ เริ่มแพร่หลายไปในประเทศไทย ประกอบกับการที่มีชาวจีนได้ย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก มาจู่ โดยนำมาแปลเป็นภาษาคือ แม่ย่านาง ในปัจจุบัน

ตามแบบฉบับแล้ว แม่ย่านางมักจะอาศัยอยู่ในเรือเท่านั้น แต่ได้มีการปรับไปตามยุคตามสมัย โดยคนสมัยนี้ มักจะใช้รถในการเดินทางมากกว่าเรือ จึงเชื่อว่า แม่ย่านางจะติดมากับพาหนะใหม่ด้วย เชื่อว่า ช่วยให้เดินทางได้อย่างปลอดภัย และอีกหนึ่งความดังก็คือ ท่านจะให้โชคลาภกับคนที่บูชาท่านเป็นอย่างดีด้วย

วิธีการไหว้ แม่ย่านาง

สำหรับการไหว้แม่ย่านางกับคนไทยแล้ว มักจะมาในรูปแบบของ ‘แม่ย่านางรถ’ ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุ แต่จะมีวิธีการไหว้อย่างไรบ้างนั้น ต้องไปดู

ไหว้แม่ย่านางรถ

สิ่งของในการไหว้แม่ย่านาง

  1. ผลไม้มงคล 5 อย่าง ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก และ ผลไม้อื่นๆ อีก 4 อย่าง
  2. ขนมมงคล เช่น ขนมถ้วยฟู สาลี่ ขนมเทียน เป็นต้น
  3. ชุดหมากพลู ยาเส้นสีฟัน 3 คำ
  4. น้ำเปล่า 1 ขวด
  5. ยาสูบ 3 มวน
  6. ข้าวสาร 1 ถ้วย
  7. ธูป 9 ดอก

คาถาไหว้ แม่ย่านาง

สำหรับการไหว้แม่ย่านางนั้น จะต้องมีทั้งการไหว้ถวายของและไหว้บอกลาท่าน ก่อนอื่นเลย ต้องเตรียมของสำหรับการไหว้ทั้งหมดไว้บนโต๊ะ จุดธูป 9 ดอก แล้วท่องคาถา ดังนี้

แม่ย่านางที่หัวเรือ

คำถวายของไหว้แม่ย่านาง

(ให้ตั้งนะโม 3 จบ)

สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ

บูชาแม่ย่านางเรือ

เมื่อกล่าวจบ ก็ให้บอกว่า ลูกจะถวายของเหล่านี้ให้กับแม่ย่านาง…(ยานพาหนะ)… ขอท่านจงรับไว้ด้วยเถิด เพื่อประโยชน์และความสุขของลูก จากนั้น ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ต้องการ เช่น ขอให้เงินทองไหลมาเทมา ขอให้เดินทองปลอดภัย แล้วรออีกประมาณ 20 นาที ให้จุดยาสูบ 3 มวนให้เจ้าที่ แล้วรอต่ออีกประมาณ 3 นาที จากนั้น ให้กล่าวคำอำลาแม่ย่านาง

คำลาของไหว้แม่ย่านาง

(ตั้งนะโม 3 จบ) แล้วท่อง

พุทธังลา ธัมมังลา สังฆังลา
ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้ให้เป็นทานต่อไป เพื่อเป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษเลย 
นะ เสสัง มังคะลา ยาจามะ

พิธีบูชาแม่ย่านางเรือพระราชพิธี
รถ

ชื่อเต็ม คือ ‘รถยนต์’ พาหนะที่ใช้ในการเดินทางทางบก ด้วยพลังงานบางอย่าง เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า เป็นต้น มีการบังคับทิศทางโดยคนขับ มีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

เรือ

พาหนะที่ใช้ในการเดินทางทางน้ำ สามารถล่องไปได้ทั้งแม่น้ำ ลำคลอง หรือ ท้องทะเลที่แสนกว้างใหญ่ ‘อาร์คิมีดีส’ เป็นผู้ค้นพบว่า สิ่งของสามารถลอยอยู่บนน้ำได้ และได้เป็นผู้ประดิษฐ์เรือขึ้นมา

เจิ้งเหอ

ผู้บัญชาการทหารเรือของจีนในยุคราชวงศ์หมิง เคยมีการติดต่อกับเมืองอยุธยาของไทย ใช้เวลาในการเดินทางสำรวจทะเลถึง 28 ปี เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ไปมามากกว่า 37 ประเทศ

สรุป

จากพระแม่มาจู่ เทพเจ้าแห่งท้องทะเลจีน สู่ แม่ย่านาง ความเชื่อตามแบบฉบับของคนไทย เดิมที เชื่อว่า แม่ย่านางจะอาศัยอยู่แค่ในเรือเท่านั้น แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไป ก็มีการบูชา แม่ย่านางรถ มากยิ่งขึ้น ใครที่ออกรถใหม่ ต้องมีการบูชาแม่ย่านางก่อนออกขับ เพื่อความปลอดภัยตลอดการเดินทาง ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าใครบูชาท่านดี ๆ ท่านก็จะให้โชคลาภ ช่วยให้เงินทองไหลมาเทมา มีเงินใช้อยู่ตลอด ไม่เคยขาดมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนไทยมี ความเชื่อเกี่ยวกับการออกรถใหม่ ทำไว้ ก็ไม่เสียหาย เน้นปลอดภัยไว้ก่อน

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Chobrod Co., Ltd

บทความแนะนำ