ชาวไทยเชื้อสายจีนเตรียมตัวพร้อมหรือยัง ในการไปทำบุญเสริมมงคลให้กับตัวเองและครอบครัวในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลปีใหม่จีนหรือ เทศกาลตรุษจีน ในปีนี้ ที่ตรงกับวันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ หากยังไม่รู้ว่าจะไปทำบุญที่ไหนดีมาทางนี้ เราได้รวบรวม สถานที่ไหว้พระวันตรุษจีน มาให้ได้ติดตามกันแล้ว
เพราะเทศกาลตรุษจีน จะมีผู้คนออกมาทำความสะอาดบ้านกันครั้งใหญ่ ร้านค้าเต็มไปด้วยผู้คนกำลังจับจ่ายใช้สอย ซื้อของขวัญให้แก่ญาติๆ ซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ ทุกคนดูร่าเริงแจ่มใสกันเป็นพิเศษ มีการเล่นประทัดจัดงานกันอย่างใหญ่โตอลังการ และที่สำคัญคือการไปไหว้เจ้า เพื่อขอพรเสริมความเป็นมงคลให้แก่ชีวิต ซึ่ง สถานที่ไหว้พระวันตรุษจีน ที่ Ruay นำมาเสนอครั้งนี้มีที่ไหนบ้างไปติดตามกันได้เลย
7 สถานที่ไหว้พระวันตรุษจีน
วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)
วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี ศูนย์กลางในการเผยแผ่พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ของคณะสงฆ์จากจีนในประเทศไทย ถือเป็นวัดส่วนหัวมังกรตามความเชื่อของจีน เมื่อเดินเข้าไปบริเวณทางเข้า จะพบกับวิหารท้าวโลกบาลทั้ง 4 มีเทวรูปเทพเจ้า 4 องค์ ชาวจีนเรียกว่า “ซี้ไต๋เทียงอ้วง” หมายถึง เทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษา คุ้มครอง และยังเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าอีกหลายองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า, พระโพธิสัตว์ ผู้คนจึงนิยมมากราบไหว้เพื่อแก้ปีชง และขอพรต่าง ๆ ไม่เฉพาะแค่วันตรุษจีนแต่มาไหว้เพื่อขอโชคทุกวัน
การเดินทาง : MRT สถานีวัดมังกร ประตูทางออกที่ 3
ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าจีนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือ “ศาลเจ้าพ่อเสือ” เป็นศาลเจ้าจีนของลัทธิเต๋า คนจีนนิยมเรียกกันว่า “ตั่วเล่าเอี้ย” ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าจีนหลายองค์ เช่น เฮียงเทียงเสี่ยงตี่, รูปเจ้าพ่อเสือ, เจ้าพ่อกวนอู และเจ้าแม่ทับทิม เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนนิยมมากราบไหว้ เพื่อขอพร ให้ประสบความสำเร็จ เสริมบุญบารมี ให้ร่ำรวย มีเงินทองเยอะ อีกทั้งผู้คนยังนิยมมาแก้ปีชงกันที่นี่ทุกปี
การเดินทาง : MRT สถานีสามยอด ประตูทางออกที่ 3
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)
วัดจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ราวกับว่ากำลังอยู่ในพระราชวังจีนโบราณ ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมในยุคราชวงศ์หมิง-ชิง โดดเด่นด้วย หอระฆัง สีสันสวยงาม ภายในมี วิหารพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิ์สัตว์ อยู่ด้านหลัง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระโพธิ์สัตว์กวนอิมปางพันตาพันมือ อีกด้วย
การเดินทาง : MRT สถานีบางพลู ประตูทางออกที่ 1 แล้วต่อรถเมล์ สาย 134, 516, 528, 177 ลงปากซอยบ้านกล้วย ข้ามฝั่งมาต่อรถมอเตอร์ไซต์ หรือ ต่อรถสองแถวไปวัดเล่งเน่ยยี่ 2
ศาลเจ้าแม่กวนอิม (มูลนิธิเทียนฟ้า)
ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า อยู่ไม่ไกลจาก วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร มีองค์พระประธานคือ เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปางประทาน ทำมาจากไม้จันทน์แกะสลัก ถูกอันเชิญมาจากประเทศจีน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยของราชวงศ์ซ่ง หรือ ประมาณ 800 – 900 ปีที่แล้ว
มูลนิธิเทียนฟ้า ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2445 เป็นมูลนิธิแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มชาวจีน 5 ภาษา เพื่อสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ยากไร้ ให้ได้รับการรักษาพยาบาล มีทั้งการรักษาแบบแผนปัจจุบันและแผนจีน
การเดินทาง : MRT สถานีหัวลำโพง ประตูทางออกที่ 1 แล้วเดินต่ออีกประมาณ 600 เมตร หรือ 7 นาที
วัดโพธิ์แมนคุณาราม (วัดโพวมิ้งปออึงยี่) สถานที่ไหว้พระวันตรุษจีน
วัดโพธิ์แมนคุณาราม วัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะของจีน – ไทย – ทิเบต ซึ่งหาดูได้ยาก อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องไปดูถึงที่วัด ก็คือ พระคัมภีร์ของวัชรยาน (ทิเบต) นิกายมนตรายาน ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก ภายในอุโบสถ ประดิษฐาน พระพุทธวัชรโพธิคุณ ที่ผสมผสานศิลปะไทยกับศิลปะจีน โดยพระวรกายเป็นแบบไทย แต่ครองจีวรแบบจีน
การเดินทาง : BRT สถานีถนนจันทร์ แล้วเดินต่ออีกประมาณ 650 เมตร หรือ 8 นาที เดินมาจนเจอซอย นราธิวาส 24 เข้าซอยมา เลี้ยวซ้ายจะเจอวัดเลย
ศาลเจ้าเซียงกง
ศาลเจ้าเซียงกง สร้างขึ้นรัชสมัยเสียนฟงปีที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง หรือ พ.ศ.2397 โดยชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ภายในประดิษฐานรูปปั้นของท่านจากมณฑลฮกเกี้ยน เชื่อกันว่าผู้ที่มาไหว้สักการะศาลเจ้าเซียงกง มักจะมาขอให้ท่านช่วยคุ้มครอง ให้อยู่เย็นเป็นสุข ค้าขายร่ำรวย
การเดินทาง : MRT สถานีหัวลำโพง ประตูทางออกที่ 4 แล้วเดินต่ออีกประมาณ 600 เมตร หรือ 8 นาที
ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ สร้างโดยชาวจีนแต้จิ๋ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ภายในก่อสร้างด้วยศิลปะจีนแบบแต้จิ๋ว เสาเป็นรูปทรงเม็ดข้าวพันรอบด้วยมังกร นอกจากนั้นยังตกแต่งสถานที่ด้วยวัตถุโบราณหาดูได้ยาก อาทิ ระฆังโบราณ ที่สร้างตั้งแต่สมัยราช วงศ์หมิง ของสำคัญอีกอย่าง ก็คือ กระถางธูป ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5
การเดินทาง : MRT สถานีวัดมังกร ประตูทางออกที่ 2 แล้วเดินต่ออีกประมาณ 180 เมตร หรือ 3 นาที
ลัทธิเต๋าเรียก “เสวียนอู่” ชื่อทางการคือ “จินเฉาหัวเซิน” เป็นพ่อค้าขายเนื้อ ตลาดเมืองเฉียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน ท่านได้สำนึกผิดที่ฆ่าสัตว์ไปมากมาย จึงไถ่โทษด้วยการ ‘คว้านท้องลากไส้และกระเพาะ’ เง็กเซียนเห็นเช่นนั้น จึงแต่งตั้งให้เป็นเซียนอีกองค์
ได้รับการยกย่องว่า เป็นเทพแห่งความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ความจงรักภักดี และความกล้าหาญ มักนำมาเป็นสัญลักษณ์เสริมความมงคลในการแข่งขันหรือการต่อสู้ มีอาวุธคู่ใจ คือ ง้าวมังกรเขียว หนัก 82 ชั่ง
มีอีกชื่อ คือ ‘เจ้าแม่มาจู่’ เทพเจ้าจีนที่สำคัญและแพร่หลายมากในประเทศไทย เปรียบเสมือนได้กับแม่ย่านาง เป็นเทพธิดาผู้คุ้มครองทะเล ใครที่ต้องเดินทางด้วยเรือ มักนิยมบูชาท่าน
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก MThai
สรุป สถานที่ไหว้พระวันตรุษจีน
ตรุษจีนปีนี้ หากมีโอกาสต้องไปสักการะ สถานที่ไหว้พระวันตรุษจีน ที่แอดมินได้รวบรวมมาให้ในครั้งนี้ เพราะว่ากันว่าแต่ละที่ ดังและขลังมาก ๆ ในเรื่องของโชคลาภ อีกทั้งยังเป็นสถานที่รวมสถาปัตยกรรมสวย ๆ ถูกใจอาม่า อากง ได้ไปไหว้พระวันตรุษจีน ถูกใจลูกหลานวัยรุ่น ได้ไปถ่ายรูปมุมสวย ๆ ที่ไม่ต้องไปถึงประเทศจีน ก็ได้สัมผัสบรรยากาศแบบจีน ๆ แล้ว และถ้าหากมีเลขเด็ดนำโชคจากการไปทำบุญรับตรุษจีนสามารถเอาไปซื้อหวยออนไลน์ได้ที่ เว็บ Tode จะได้มีโชคมีชัยรับตรุษจีนในปีนี้ได้ เฮง ๆ รวย ๆ ทุกคน